ยินดีต้อนรับ

welcome to my blog
อยากเขียนอะไร ใส่ตรงนี้จ้า

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 3


ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาอะไรก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษามา 1 ระบบ อธิบายรายละเอียด โดยใช้หลัก IPO มาพอสังเขป

ตอบ ระบบการสอนวิชา การปกครองท้องถิ่นไทย ตามหลักของ IPO (Input > Process > Output) มีดังนี้
1.Input ได้แก่

คำอธิบายรายวิชา :
ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการปกครองท้องถิ่น ที่เป็นรากฐานของการปกครองและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยจากแนวคิดตะวันตก และเน้นการปกครองท้องถิ่นไทย ประวัติและพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองท้องถิ่นกับการปกครองส่วนกลางในแง่ อำนาจ รูปแบบ ปัญหาและผลกระทบต่อการพัฒนาสังคมและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และทฤษฎีของการปกครองท้องถิ่น
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเป็นมา โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ การบริหารงาน และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับหน่วยการปกครองท้องถิ่นไทยรูปแบบต่างๆ
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจ เรื่องการปกครองท้องถิ่นไทย ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
แผนการสอน :

สัปดาห์
หัวข้อเรื่อง
กิจกรรม
หมายเหตุ
1
- แนะนำกระบวนการเรียนการสอน , ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการปกครองของไทย
แนะนำเนื้อหาวิชา , ข้อตกลงร่วมกันก่อนเรียน
2
- ความหมาย องค์ประกอบ วัตถุประสงค์ ความสำคัญ และหน้าที่ความรับผิดชอบของการปกครองท้องถิ่น
บรรยาย , กิจกรรม
3
- หลักการ แนวความคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น
บรรยาย , กิจกรรม
4
- ประวัติความเป็นมา และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
บรรยาย , กิจกรรม
5
- การปกครองท้องถิ่นไทยตามรัฐธรรมนูญ
บรรยาย , กิจกรรม
6
- ประเมินผลการเรียนการสอน ครั้งที่ 1
สอบกลางภาค
7
- กรุงเทพมหานคร
บรรยาย , อภิปราย
8
- เมืองพัทยา
บรรยาย , อภิปราย
9
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สัมมนา , อภิปราย
10
- เทศบาล
สัมมนา , อภิปราย
11
- องค์การบริหารส่วนตำบล
สัมมนา , อภิปราย
12-15
- นำเสนอผลการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อบจ. , เทศบาล , อบต.)
นำเสนอรายงาน , อภิปราย
16
- สรุปบทเรียน
บรรยายสรุป , อภิปราย



ตำราเรียนหลัก :
1.โกวิทย์ พวงงาม.การปกครองท้องถิ่นไทย.กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, 2546
เอกสารประกอบการเรียน :
1. ชำนิ ศักดิเศรษฐ์. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2543.
2. ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท พิฑเนศ พริ้นทิ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด, 2539.
3. ธเนศวร์ เจริญเมือง. 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2544-2540. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2540.
4. ประทาน คงฤทธศึกษากร. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2526.
5. ประทาน คงฤทธศึกษากร. การปกครองเมืองพัทยา. เอกสารการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ อันดับที่ 68 คณะรัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.
6. ประทีป ว่องวีระยุทธ์ และขวัญฤทัย จ่างจำรัส. การปกครองท้องถิ่นไทย. เอกสารประกอบการสอน. สถาบันราชภัฏภูเก็ต, 2540.
7. ประหยัด หงษ์ทองคำ. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2523.
8. ประหยัด หงษ์ทองคำ. พัฒนาการทางการเมืองโดยกระบวนการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์พาพาส จำกัด, 2539.
9. อุทัย หิรัญโต. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2523.
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : เว็บไซต์ต่างๆที่นำมาประกอบการสอน

2.Process ได้แก่

การสอบวัดผล :
1. คะแนนระหว่างภาคเรียน (60%)
(1.) สอบกลางภาค 20%
(2.) การมีส่วนร่วม 20% (เข้าชั้นเรียน 10% , เข้าร่วมกิจกรรม 10%)
(3.) รายงาน 20% (นำเสนอรายงาน 10% , เนื้อหารายงาน 10%)
2. คะแนนปลายภาคเรียน (40%)
(1.) สอบปลายภาค 40%


การประเมินผลการเรียน :
เกรด A = 80-100%
เกรด B+ = 75-79%
เกรด B = 70-74%
เกรด C+ = 65-69%
เกรด C = 60-64%
เกรด D+ = 55-59%
เกรด D = 50-54%
เกรด E = 0 - 49%
3.Output ได้แก่
การที่ครูผู้สอนได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสอนอย่างเต็มที่ ผู้เรียนก็เกิดความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนมีการตอบโต้ตอบสนองในการเรียนรู้วิชาการปกครองท้องถิ่นไทย และผู้เรียนได้ทักษะจากการทำกิจกรรมในห้องเรียนและนอกสถานที่ รวมทั้งผู้เรียนได้ทัศนคติจากการรวมกลุ่มทำงานร่วมกัน
สรุป การสอนโดยใช้หลัก (IPO)
Input
Process
Output
    ครูผู้สอน
    การทำกิจกรรม
    ได้ความรู้ความเข้าใจ
    นักเรียน/นักศึกษา
    การทำการบ้าน
    ได้ทักษะ
    เนื้อหาการเรียนรู้
    การสอบ
    ได้ทัศนะคติที่ดี
    วัตถุประสงค์
    การประเมิน
    แผนการเรียน
    สื่อการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น